7 ขั้นตอนการเลือกซื้อประกันสุขภาพที่ไหนดี

หาข้อมูลประกันสุขภาพมาก็หลายที่ แล้วจะทำประกันสุขภาพกับที่ไหน แบบไหนดี AIA planner จะมาแนะนำเทคนิคและขั้นตอนในการเลือกซื้อประกันสุขภาพให้ได้ตรงกับความต้องการ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษา และ คุ้มค่า คุ้มราคา กับค่าเบี้ยที่จ่ายไปมากที่สุดค่ะ

ซื้อประกันสุขภาพที่ไหนดี ?

คนแนะนำมาก็เยอะ หาข้อมูลมาก็แยะ จนเริ่มสับสนว่าต้องทำ ประกันสุขภาพตัวไหน ค่าเบี้ยเท่าไหร่ ทำกับบริษัทไหนดี วันนี้ FINNAPLAN ได้มีแนวทางมาช่วยให้ทุกท่านได้วางแผนประกันสุขภาพให้ตัวเอง ลูกน้อย ครอบครัว และคนที่เรารักได้ดีขึ้น เพื่อให้ได้ประกันสุขภาพที่ตรงกับความต้องการและครอบคลุมค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่เราต้องการไปรักษามากที่สุดค่ะ

7 ขั้นตอนการวางแผนประกันสุขภาพ

  1. สำรวจสิทธิสวัสดิการ
  2. สำรวจค่าใช้จ่ายโรงพยาบาลที่จะใช้
  3. วางแผนเลือกแบบเลือกความคุ้มครอง
  4. ปรับแผนประกันให้ลงตัว
  5. เลือกบริษัท เลือกตัวแทน
  6. ทำสัญญาสมัครขอทำประกัน
  7. ได้เล่มกรมธรรม์แล้วตรวจสอบข้อมูล เงื่อนไขและข้อยกเว้น

   1. สำรวจสิทธิสวัสดิการ

สำรวจสิทธิค่ารักษาพยาบาลที่เรามีอยู่ว่ามีอะไรอยู่บ้าง ครอบคลุมให้ตัวเราเองหรือลูกน้อยเท่าไหร่ บางท่านมิสิทธิข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ต้องเช็คดูว่าในส่วนของค่ารักษาพยาบาลนั้นเบิกอะไรได้ เข้าที่โรงพยาบาลไหนได้บ้าง บางท่านอาจจะเป็นพนักงานบริษัทที่มีสวัสดิการประกันกลุ่มให้ก็ต้องไปเช็คว่าเป็นของบริษัทใด ให้ความคุ้มครองเท่าไหร่ คุ้มครองคนในครอบครัวหรือไม่ หลัก ๆ ก็จะดูในเรื่องของวงเงิน ค่าห้อง กับค่ารักษาพยาบาล ว่ามีอยู่เท่าไหร่ หากมีอยู่แล้วบางส่วนและมั่นใจว่าเราจะทำงานที่เดิมต่อไปนานๆ อาจจะเลือกแค่ทำเพิ่มเติมในส่วนเฉพาะส่วนที่ไม่เพียงพอ

2. สำรวจค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล

ส่วนใหญ่โรงพยาบาลที่เราเลือกเข้ารับการรักษามักจะเป็นโรงพยาบาลใกล้ๆบ้านที่เราสะดวกจะเดินทางเข้าไปรับการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรืออาจจะเป็นโรงพยาบาลที่เรามั่นใจในเรื่องของคุณภาพการรักษาหรือมีคุณหมอประจำที่เรารักษาอยู่ สำหรับกรณีของลูกน้อยอาจจะเป็นโรงพยาบาลที่น้องคลอด หรือไปรับการฉีดวัคซีน หรือโรงพยาบาลที่เคยไปเข้ารับการรักษาพยาบาลมาแล้ว ด้วยเรื่องของประวัติที่มีอยู่แล้วในโรงพยาบาลทำให้การรักษาต่อเนื่อง หรือด้วยความคุ้นเคยกับคุณหมอเจ้าของไข้

ซึ่งค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลหลาย ๆ ท่านอาจจะประเมินไม่ถูกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจะเป็นเท่าไหร่หากเจ็บป่วยป่วย อาจจะโทรสอบถามไปกับทางโรงพยาบาลที่เราต้องการไปเข้ารับการรักษาพยาบาลเพื่อสอบถามข้อมูลเรื่องของค่าห้อง (รวมค่าใช้จ่ายในเรื่อง ค่าห้อง+ค่าบริการพยาบาล+ค่าอาหาร+ค่าบริการโรงพยาบาล)

นอกจากค่าห้อง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ยังมีค่าแพทย์ ค่าวินิจฉัยโรคด้วยการตรวจด้วยเครื่องมือต่างๆ ค่ารักษาพยาบาล ทั้งค่ายา น้ำเกลือ เวชภัณฑ์ ต่างๆอีกมากมายหลายหมวด ซึ่งตรงนี้จะประเมินค่อนข้างยากขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ความซับซ้อน เทคนิค และเครื่องมือต่างๆที่จะต้องใช้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลด้วย

หากเจ็บป่วยเล็กน้อยทั่วไปที่ต้องนอนโรงพยาบาล เช่น เป็นไข้ ท้องเสีย สำหรับโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำอาจจะมีค่าใช้จ่ายรวมต่อคืนประมาณหลักหมื่นบาท  แต่หากต้องมีการผ่าตัด หรือมีการรักษาที่ซับซ้อน หรือมีอาการแทรกซ้อนต้องนอนรักษาพยาบาลนาน ค่าใช้จ่ายอาจขึ้นไปถึงหลักหลายแสนบาท หรือหลักล้านบาทได้เลยทีเดียว

   ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลก็จะมีในเรื่องของค่าห้อง ค่าตรวจวินิจฉัย และค่ายาและเวชภัณฑ์ในการรักษา ณ ปัจจุบันในส่วนของค่าห้องโรงพยาบาลเอกชนระดับกลางจะอยู่ที่ 2,000-5,000 บาทต่อคืน รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าแล็บ ค่าแพทย์ จะมีค่าใช้จ่ายต่อวันอยู่ที่ประมาณวันละ 7,000-10,000 บาท

 

     หากเป็นโรงพยาบาลระดับบนก็จะมีค่าใช้จ่าย ค่าห้องที่ประมาณวันละ 5,000-10,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จะมีค่าใช้จ่ายรวมประมาณวันละ 15,000-25,000 บาทต่อวัน เบื้องต้นสำหรับกรณีที่เป็นการรักษาด้วยอาการเจ็บป่วยทั่วไป เช่น เป็นหวัด ท้องเสีย แต่หากการรักษาครั้งนั้นต้องมีการผ่าตัดหรือใช้วิธีเทคนิคพิเศษในการรักษา อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาแพงขึ้นไปอีกต้องสอบถามจากทางโรงพยาบาลเป็นกรณีไป

  3. วางแผนความคุ้มครองประกันสุขภาพ

ความคุ้มครองที่เราต้องการได้รับจากบริษัทประกัน สำหรับท่านใดที่เคยมีตัวแทนมาเสนอประกัน หรือมีเจ้าหน้าที่จากทางบริษัทโทรมาเสนอประกันให้ อาจคุ้น ๆ คำศัพท์เหล่านี้อยู่บ้าง สำหรับท่านใดที่ไม่คุ้นคำศัพท์ทางวงการประกันขออธิบายความคุ้มครองแบ่งเป็นส่วน ๆ ดังนี้

 

3.1 วงเงิน ค่าห้อง+ค่าอาหาร+ค่าการพยาบาล หรือส่วนใหญ่ในวงการประกันจะเรียกกันสั้นๆว่า แผนค่าห้อง…บาท ก็จะมีแผนค่าห้องตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย

3.2 วงเงินค่าผ่าตัด ค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัยต่างๆ ทางการแพทย์ หรือบางที่ก็จะอยู่ในหมวด ค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ วงเงินก็จะมากน้อยไปตามแผนที่เราเลือก แต่เนื่องด้วยปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมากซึ่งก็ตามมาด้วย ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่สูงขึ้นเช่นกัน บริษัทประกันจึงได้มีการออกแบบประกันสุขภาพแบบใหม่ที่ให้วงเงินค่ารักษาพยาบาล ที่สูงกว่าเรียกว่า ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ซึ่งจะมีวงเงินในการรักษาพยาบาลที่สูงกว่า โดยให้วงเงินการรักษาที่ 1 ล้าน, 5 ล้าน, จนถึง 120 ล้านต่อปีเป็นต้น เพื่อเพิ่มความอุ่นใจและให้คนในครอบครัวได้รับการรักษาที่ดีที่สุด

ปัจจุบันได้มีผลิตภัณฑ์ประกันควบการลงทุน หรือ Unit-Linked ที่มีบางบริษัทมีสัญญาสุขภาพแบบ UDR (Unit Deducting Rider) ซึ่งสามารถซื้อร่วมกับผลิตภัณฑ์ Unit-Linked ได้ทำให้ลูกค้าได้จ่ายเบี้ยประกันคงที่และเงินค่าเบี้ยประกันหลังหักค่าใช้จ่ายจะถูกนำไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเพิ่มโอกาสในเงินออมให้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งจะขอนำข้อมูลมาอธิบายในคราวหน้า ประกันสุขภาพแบบ UDR

3.3 แผนค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) หากอาการเจ็บป่วยของเราเป็นอาการไม่เยอะ ไปพบคุณหมอแล้วคุณหมอให้ยามาป้อนที่บ้านไม่ต้องนอนโรงพยาบาล หากแผนประกันที่เราทำไว้มีความคุ้มครองตรงนี้ ก็สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้โดยที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

 

3.4 ค่าชดเชยรายได้ เป็นค่าชดเชยการเสียเวลาเสียรายได้ช่วงที่ป่วยแล้วต้องมานอนโรงพยาบาล โดยทางปฏิบัติจะทำไว้เป็นค่าเสียเวลาให้กับคุณลูกค้า เป็นการชดเชยการเสียรายได้ หรือเอาไว้จ่ายส่วนต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ในค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น หรือเอาไว้เป็นส่วนต่างค่าห้องกรณีแผนค่ารักษาพยาบาลที่ทำไว้มีค่าห้องไม่เพียงพอ ปกติของเด็กจะถูกจำกัดไว้ที่วันละ 1,000-2,000 บาท ส่วนผู้ใหญ่ที่อาจซื้อสูงสุดได้ถึง 10,000 บาท

 

3.5 ประกันโรคร้ายแรงประกันโรคมะเร็ง สำหรับคุณลูกค้าที่มีความกังวลในเรื่องของโรคร้ายแรง ซึ่งโอกาสที่จะเป็นอาจจะน้อยกว่าการเจ็บป่วยทั่วไป แต่ถ้าหากเกิดขึ้นก็จะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาดูแลคนไข้สูง ประกันโรคร้ายแรง โรคมะเร็งก็เป็นที่ได้รับความนิยมที่จะซื้อเพิ่มกันในปัจจุบัน เนื่องจากค่าเบี้ยประกันถูกแต่ให้ความคุ้มครองสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็ก เบี้ยประกันหลักพันต้น ๆ สามารถให้ความคุ้มครองหลักล้านบาทได้เลยค่ะ

 

3.6 ประกันอุบัติเหตุ สำหรับการดูแลคุ้มครองเรื่องอุบัติเหุตโดยเฉพาะทั้งในเรื่องของ ค่ารักษาพยาบาล สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

 

3.7 ความคุ้มครองผู้ชำระเบี้ย ในการทำประกันสุขภาพให้ลูกนั้นเพราะคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกน้อยได้รับการรักษาดูแลอย่างดีที่สุดในวันที่เจ็บป่วย แต่หากเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้นกับพ่อแม่ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยรายแรง พิการ หรือเสียชีวิต ใครจะมาชำระเบี้ยตรงนี้ต่อ นี่คือโจทย์ที่ทำให้บริษัทประกันทำสัญญาความคุ้มครองผู้ชำระเบี้ยขึ้นมาเพื่อดูแลค่าใช้จ่าย ค่าเบี้ยตรงนี้ในวันที่เกิดเหตุร้ายขึ้นกับพ่อแม่ผู้ชำระเบี้ย หรืออาจจะมีคุณพ่อคุณแม่บางท่านตัดสินใจทำประกันชีวิตของตัวเองแยกมาอีกต่างหากเพื่อให้มีเงินทุนอีกก้อนไว้ดูแลเจ้าตัวน้อยให้ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปอย่างที่เราต้องการ ในวันที่เราไม่อยู่…

 

4. ปรับความคุ้มครอง

การปรับความคุ้มครองที่เราต้องการให้พอเหมาะกับงบประมาณที่เราวางไว้ แน่นอนค่ะว่าประกันที่ให้ความคุ้มครองสูงย่อมมีค่าเบี้ยที่สูงตาม คุณลูกค้าแต่ละท่านก็มีงบประมาณและความต้องการในความคุ้มครองไม่เท่ากัน ค่าเบี้ยประกันก็ควรเลือกให้พอเหมาะพอดีไม่รบกวนค่าใช้จ่าย หรือเงินออมในส่วนอื่น ๆ จนเกินไป แต่หากคุณลูกค้าท่านใดมีงบประมาณและต้องการให้ตนเองและครอบครัวได้รับการรักษาที่ดีที่สุด จะซื้อแผนสูงเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชั้นนำก็ถือเป็นเรื่องที่ดี ไม่มีแบบประกันที่ดีที่สุดและถูกที่สุด มีแต่แบบที่เหมาะสมกับเราที่สุดเท่านั้นเองค่ะ

 

5. เลือกบริษัท เลือกตัวแทน

อีกคำถามที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ คือ แล้วทำกับบริษัทไหนดี กับตัวแทนไหนดี สำหรับเรื่องบริษัท ในแบบประกันที่ความคุ้มครองใกล้ ๆ กัน เบี้ยแต่ละบริษัทมักจะไม่ต่างกันมากเท่าไหร่ แต่หากลูกค้าต้องการความสะดวกสบายแนะนำให้เลือกบริษัทที่มีชื่อเสียงมีความมั่นคง และดูเรื่องบริการ Fax claim หรือบริการคู่สัญญากับทางโรงพยาบาลที่จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาโดยตรงกับทางบริษัทประกันโดยลูกค้าไม่ต้องสำรองจ่าย ส่วนในเรื่องของตัวแทน ส่วนใหญ่อาจเลือกจากคนใกล้ตัวที่ไว้ใจได้ หรือหากไม่มีคนรู้จักเป็นตัวแทนก็แนะนำให้เลือกจากมืออาชีพที่สามารถเข้ามาช่วยเหลือบริการหากเกิดกรณีปัญหาตอนเคลม หรือสามารถตอบปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ของประกันให้เราได้ แน่นอนว่าในยุคสมัยนี้หากเป็นไปได้ทุกคนก็อยากทำธุรกิจกับมืออาชีพอยู่แล้ว

6. ข้อมูลพร้อม เงินพร้อม ก็เริ่มทำสัญญา

โดยส่วนใหญ่อายุที่บริษัทจะรับประกันได้จะอยู่ที่ 1 เดือนเป็นต้นไป ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทและแต่ละเคส หากลูกค้าเองยังไม่เคยมีประวัติการเจ็บป่วย การสมัครทำประกันก็จะมีแค่ในเรื่องเก็บเอกสารสมัครและตอบแบบฟอร์มแบบสอบถามเรื่องสุขภาพตามจริงตามระเบียบบริษัท แต่ถ้าหากเรามีโรคประจำตัวหรือ อาการผิดปกติที่เป็นมาแต่โดยกำเนิด ก็อาจจะต้องมีขั้นตอนในเรื่องของการขอประวัติสุขภาพจากโรงพยาบาลที่ทำการรักษา และตรวจสุขภาพโดยแพทย์เพื่อประกอบการพิจารณารับประกันจากบริษัทเป็นกรณีไป

 7. รับมอบและตรวจสอบข้อมูลและเงื่อนไขข้อยกเว้นในกรมธรรม์

ผู้สมัครทำประกันจำนวนไม่น้อยที่หลังจากได้รับกรมธรรม์แล้วไม่เคยเปิดอ่านอีกเลยจนกว่าจะถึงวันที่จะใช้เคลม อาจจะเนื่องมาจากเนื้อหาในกรมธรรม์ค่อนข้างเยอะและเป็นภาษาที่คนทั่วไปอ่านไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ แต่สิ่งที่แนะนำให้อ่านหลังจากได้รับกรมธรรม์คือข้อมูลส่วนตัวต่างๆของเราว่าถูกต้องหรือไม่ ความคุ้มครองและข้อยกเว้นต่างๆในกรมธรรม์ที่สำคัญๆมีอะไรบ้างตอนเคลมจะได้ไม่ติดขัดค่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *